บริษัทฯ เชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจที่ดีต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

การดำเนินธุรกิจของเราจึงมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือสังคมตั้งแต่วันแรกของการดำเนินงาน โดยการพัฒนาสินทรัพย์ให้กลับมามีคุณภาพ และหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจต่อไป และเรายังมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคม ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร

สิ่งแวดล้อม

Better As We Care Together

BAM ตระหนักถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรของโลก ลดการเกิดของเสีย โดยมีการนำเอาของเสียหรือขยะที่เกิดขึ้นกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในด้านพลังงาน BAM มีการบริหารจัดการด้วยการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด การลดใช้น้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำหลังได้รับการบำบัด BAM จึงขอเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรและประเทศ ในการสร้างจิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในสังคม

%
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2565
%
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2565
%
ปริมาณของเสียนำกลับมาใช้ซ้ำ จากปริมาณของเสียทั้งหมดในปี 2566
%
ปริมาณน้ำที่ลดลง เมื่อเทียบกับปีฐาน 2565

สังคม

Better As We Share Together

BAM มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม พัฒนาความรู้และ ทักษะที่จำเป็นตามแผนการพัฒนาพนักงาน ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงานและสนับสนุน ระบบจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดี ส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยยึดหลักความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อสร้างความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ชั่วโมง/คน/ปี
จำนวนชั่วโมงการอบรม เฉลี่ยของพนักงาน
%
ร้อยละความพึงพอใจลูกค้า ต่อการใช้บริการของ BAM ในปี 2566
%
อัตราการบาดเจ็บ / อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน ต่อ 200,000 ชั่วโมง

การกำกับดูแลกิจการและเศรษฐกิจ

Better As We Fair Together

BAM มุ่งมั่นการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความโปร่งใสอย่างมีธรรมาภิบาล พร้อมส่งเสริมบุคลากรให้ตระหนักถึงการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ แสดงความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ความยุติธรรมและซื่อสัตย์ ความโปร่งใส เพื่อสร้างคุณค่าระยะยาวแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และสร้างจิตสำนึกด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้ขยายไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนต่อไป

%
ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการสื่อสารนโยบาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตขององค์กร
กรณี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัทฯ
%
คะแนนที่ได้รับการประเมินจากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ระดับ 5 ดาว หรือ ดีเลิศ

วิเคราะห์ประเด็นสำคัญ

ทั้งนี้ประเด็นความยั่งยืนประจำปี 2566 เป็นประเด็นที่ได้จากกระบวนการระบุประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญตามหลักการรายงาน Impact Materiality ซึ่่งได้จัดทำเป็นฉบับที่่สองสำหรับเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในรอบการรายงานปี 2566

  • มิติเศรษฐกิจ
  • 1 ผลการดำเนินงานเชิงเศรษฐกิจ
  • 2 การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
  • 3 การบริหารความเสี่ยง
  • 4 การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 5 การต่อต้านการทุจริต
  • 6 การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
  • 7 การจ้างงานคนในท้องถิ่น
  • มิติสิ่งแวดล้อม
  • 8 การจัดการทรัพยากร
  • 9 การจัดการพลังงาน
  • 10 การจัดการก๊าซเรือนกระจก
  • มิติผู้คน
  • 11 การอบรมและให้ความรู้
  • 12 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • 13 การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการปฏิบัติต่อ แรงงานอย่างเป็นธรรม
  • มิติสิทธิมนุษยชน
  • 14 การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม
  • 15 กาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • 16 การสื่อสารด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้องและครบถ้วน
  • 17 การรักษาข้อมูลลูกค้า
  • 18 การเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการ
  • 19 การให้ความรู้ทางการเงิน
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม